Friday, September 4, 2015

สรุปผลการวิจัยการออกแบบตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท 2558

ชื่อเรื่องวิจัย เรื่องการออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท

ชื่อผู้วิจัย ประชิด ทิณบุตร และคณะ
ปีที่วิจัย 2558
บทคัดย่อ  |  Abstract @ ResearchGate.net

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อออกแบบพัฒนาปรับปรุงมาตรฐานและคุณภาพด้านตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์สินค้าด้านสุขภาพและความงาม ของผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในเขตจังหวัดชัยนาท ให้สามารถดำเนินการผลิต บรรจุและจัดจำหน่ายในท้องตลาดได้จริง 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างประชากร ที่มีต่อประสิทธิภาพผลงานการออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์ และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์สินค้าที่ได้พัฒนาขึ้นภายใต้กรอบแนวคิดการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นการศึกษาวิจัยแบบพัฒนาทดลองตามหลักการและกระบวนการออกแบบสร้างสรรค์ และการวิจัยแบบมีส่วนร่วมจำนวน 8 ราย โดยมีการประเมินมาตรฐาน คุณภาพและประสิทธิภาพ จากตัวแทนของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 5 กลุ่ม อันได้แก่ กลุ่มตัวอย่างในฐานะของกลุ่มผู้ประกอบการ นักวิชาการ/ผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษา/นักวิจัย นักวิชาการพัฒนาชุมชน/เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ นักออกแบบกราฟิกอัตลักษณ์/นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ และตัวแทนของกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงเลือกและการเลือกแบบบังเอิญ รวมจำนวนทั้งสิ้น 104 คน เก็บรวบรวมข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการนำเสนอผลงานแบบกลุ่มย่อย การสอบถามความคิดเห็นทั้งโดยตรงและแบบออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลจากการวิจัยพบว่าผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพและความงาม ของผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน รวมทั้ง 8 ราย ภาพรวมด้านมาตรฐานอัตลักษณ์และคุณภาพการออกแบบตราสัญลักษณ์ ด้านมาตรฐานและคุณภาพการออกแบบรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ และด้านภาพรวมของสื่อการรับรู้ที่เชื่อมโยงถึงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดชัยนาท โดยใช้อัตลักษณ์จังหวัดชัยนาทเป็นสื่อสร้างสรรค์คือ วัด นก เขื่อน เป็นองค์ประกอบร่วมนั้น เป็นผลงานการออกแบบที่มีมาตรฐาน มีคุณภาพและประสิทธิภาพที่เป็นไปตามตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวมทั้งหมดอยู่ที่ 4.70 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52 โดยที่ผู้วิจัยได้มอบวัสดุเพื่อการผลิต การบรรจุภัณฑ์ งานสื่อสิ่งพิมพ์ และไฟล์ต้นแบบดิจิตัลที่มีลิขสิทธิ์ทั้งหมด บันทึกลงแผ่นดีวีดีมอบให้แก่ผู้ประกอบการแต่ละรายที่เข้าร่วมโครงการวิจัย และได้นำเสนอเผยแพร่องค์ความรู้ สาระสำคัญตัวอย่างผลงานที่เกิดจากการวิจัยครั้งนี้ไว้ที่เว็ปบลอกชื่อที่อยู่ http://chainatbrand.blogspot.com

คำสำคัญ : การออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม วิสาหกิจชุมชน การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดชัยนาท

Saturday, August 15, 2015

สร้างแบรนด์ใหม่ชื่อเอาถ่าน owtarn‬ ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงจ่าสมบัติ อำเภอหันคา

ผศ.ประชิด ทิณบุตร และคณะผู้วิจัยลงพื้นที่วิจัยที่ชัยนาท วิจัยวิทยาแบบให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม (Community Based participatory Research : CBPR) โดยให้ผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสียได้ร่วมให้ข้อมูล และร่วมตัดสินใจคัดเลือกผลงานโดยวิธีการประชุมสนทนากลุ่ม(Focus Groups) ในการตัดสินใจในผลงานการออกแบบพัฒนา ผลงานออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ใหม่ ของวิสาหกิจชุมชนกองทุนเพื่อการเกษตรชุมชนบ้านแหลมทอง ตำบลหนองแซง อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท สร้างแบรนด์ใหม่ชื่อเอาถ่าน owtarn‬ ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงจ่าสมบัติ โดยการบรรยาย นำเสนอแนะแนวทางการพัฒนาต่อยอดการสร้างสรรค์คุณภาพผลิตภัณฑ์ จากถ่านอัดแท่ง การร่วมวิพากษ์ การสาธิตและร่วมผลิตก้อนถ่านอัดมือ การร่วมแสดงความคิดเห็นแบบสนทนากลุ่มย่อย และส่งมอบชุดทดลองตลาดให้ไปดำเนินการต่อยอดทางธุรกิจที่เข้มแข็งและพึงพาตนเองได้ต่อไป 6-8-2558

ทีมงานวิจัย
ผศ.ประชิด ทิณบุตร หัวหน้าโครงการวิจัย
นายธีระชัย สุขสวัสดิ์ ผู้ร่วมวิจัย
นายอดิสรณ์ สมนึกแท่น ผู้ร่วมวิจัย
นายคณาศักดิ์ พงษ์พาลี ผู้ช่วยวิจัย (ศิษย์เก่า)
นายดนุนัย พลศรี นักศึกษาช่วยงานวิจัย ชั้นปีที่ 4
นางสาวบุญญานุช วิชาชัย นักศึกษาช่วยงานวิจัย ชั้นปีที่ 4
สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม.



Brand and Packaging Design : Community Based participatory Research : CBPR

ผศ.ประชิด ทิณบุตร และคณะผู้วิจัยลงพื้นที่วิจัยที่ชัยนาท วิจัยวิทยาแบบให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม (Community Based participatory Research : CBPR) โดยให้ผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสียได้ร่วมให้ข้อมูล และร่วมตัดสินใจคัดเลือกผลงานโดยวิธีการประชุมสนทนากลุ่ม(Focus Groups) ในการตัดสินใจในผลงานการออกแบบพัฒนา ผลงานออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ใหม่ ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำสมุนไพรและศิลปะประดิษฐ์ บ้านคลองมอญ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท สร้างแบรนด์ใหม่ชื่อ Klongmorn Herb โดยการ บรรยาย นำเสนอแนะแนวทางการพัฒนาต่อยอดการสร้างสรรค์คุณภาพผลิตภัณฑ์ การร่วมวิพากษ์ การสาธิตและร่วมผลิตสบู่สมุนไพร การร่วมแสดงความคิดเห็นแบบสนทนากลุ่มย่อย และส่งมอบชุดทดลองตลาดให้ไปดำเนินการต่อยอดทางธุรกิจที่เข้มแข็งและพึงพาตนเองได้ต่อไป 6-8-2558

ทีมงานวิจัย
ผศ.ประชิด ทิณบุตร หัวหน้าโครงการวิจัย
นายธีระชัย สุขสวัสดิ์ ผู้ร่วมวิจัย
นายอดิสรณ์ สมนึกแท่น ผู้ร่วมวิจัย
นายคณาศักดิ์ พงษ์พาลี ผู้ช่วยวิจัย (ศิษย์เก่า)
นายดนุนัย พลศรี นักศึกษาช่วยงานวิจัย ชั้นปีที่ 4
นางสาวบุญญานุช วิชาชัย นักศึกษาช่วยงานวิจัย ชั้นปีที่ 4
สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม.





ผศ.ประชิด ทิณบุตร และคณะผู้วิจัยลงพื้นที่วิจัยที่ชัยนาท วิสาหกิจชุมชนกลุ่มธูปหอมอินทร์มงคล ตำบลหาดท่าเสา





ผศ.ประชิด ทิณบุตร และคณะผู้วิจัยลงพื้นที่วิจัยที่ชัยนาท วิจัยวิทยาแบบให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม (Community Based participatory Research : CBPR) โดยให้ผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสียได้ร่วมให้ข้อมูล และร่วมตัดสินใจคัดเลือกผลงานโดยวิธีการประชุมสนทนากลุ่ม(Focus Groups) ในการตัดสินใจในผลงานการออกแบบพัฒนา ผลงานออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ใหม่ ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มธูปหอมอินทร์มงคล บ้านมะพลับดก อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ออกแบบแบรนด์ใหม่ชื่อ อินทร์มงคล โดยการ บรรยาย นำเสนอแนะแนวทางการพัฒนาต่อยอดการสร้างสรรค์คุณภาพผลิตภัณฑ์ การร่วมวิพากษ์ การร่วมแสดงความคิดเห็นแบบสนทนากลุ่มย่อย และส่งมอบชุดทดลองตลาดให้ไปดำเนินการต่อยอดทางธุรกิจที่เข้มแข็งและพึงพาตนเองได้ต่อไป 6-8-2558 ทีมงานวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร หัวหน้าโครงการวิจัย ผู้ร่วมวิจัย 1.นายธีระชัย สุขสวัสดิ์ 2.นายอดิสรณ์ สมนึกแท่น ผู้ช่วยวิจัย นายคณาศักดิ์พงษ์พาลี นักศึกษาช่วยงานวิจัย นายดนุนัย พลศรี นางสาวบุญญานุช วิชาชัย สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ผศ.ประชิด ทิณบุตร และคณะผู้วิจัยลงพื้นที่วิจัยที่ชัยนาท วิสาหกิจชุมชนสวนสารพัดดีเพื่อสุขภาพ บ้านหัวทองพัฒนา อำเภอหันคา



ผศ.ประชิด ทิณบุตร และคณะผู้วิจัยลงพื้นที่วิจัยที่ชัยนาท วิจัยวิทยาแบบให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม (Community Based participatory Research : CBPR) โดยให้ผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสียได้ร่วมให้ข้อมูล และร่วมตัดสินใจคัดเลือกผลงานโดยวิธีการประชุมสนทนากลุ่ม(Focus Groups) ในการตัดสินใจในผลงานการออกแบบพัฒนา ผลงานออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ใหม่ ของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนสวนสารพัดดีเพื่อสุขภาพ บ้านหัวทองพัฒนา อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท สร้างแบรนด์ใหม่ชื่อ สารพัดดี โดยการ บรรยาย นำเสนอแนะแนวทางการพัฒนาต่อยอดการสร้างสรรค์คุณภาพผลิตภัณฑ์ การร่วมวิพากษ์ การสาธิตทำสบู่สมุนไพร การร่วมแสดงความคิดเห็นแบบสนทนากลุ่มย่อย และส่งมอบชุดทดลองตลาดให้ไปดำเนินการต่อยอดทางธุรกิจที่เข้มแข็งและพึงพาตนเองได้ต่อไป 5 - 8 - 2558 คณะผู้วิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร หัวหน้าโครงการวิจัย ผู้ร่วมวิจัย 1.นายธีระชัย สุขสวัสดิ์ 2.นายอดิสรณ์ สมนึกแท่น ผู้ช่วยวิจัย นายคณาศักดิ์พงษ์พาลี สาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ผศ.ประชิด ทิณบุตร และทีมงานวิจัยลงพื้นที่วิจัย วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านสระไม้แดง อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท



ผศ.ประชิด ทิณบุตร และทีมงานวิจัยลงพื้นที่วิจัยที่ชัยนาท วิจัยออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ แบบให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม (Community Based participatory Research : CBPR) โดยให้ผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสียได้ร่วมให้ข้อมูล และร่วมตัดสินใจคัดเลือกผลงานโดยวิธีการประชุมสนทนากลุ่ม(Focus Groups) ในการตัดสินใจในผลงานการออกแบบพัฒนา ผลงานออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ใหม่ ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านสระไม้แดง อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท สร้างแบรนด์ใหม่ชื่อ แม่อ๊๊ดสมุนไพร สรรคบุรี โดยการ บรรยาย นำเสนอแนะแนวทางการพัฒนา ต่อยอดการสร้างสรรค์คุณภาพผลิตภัณฑ์ การร่วมวิพากษ์ การสาธิตและปฏิบัติการทำสบู่สมุนไพร การร่วมแสดงความคิดเห็นแบบสนทนากลุ่มย่อย และส่งมอบชุดทดลองตลาดให้ไปดำเนินการต่อยอดทางธุรกิจที่เข้มแข็งและพึงพาตนเองได้ต่อไป 5-8-2558 คณะผู้วิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร หัวหน้าโครงการวิจัย ผู้ร่วมวิจัย 1.นายธีระชัย สุขสวัสดิ์ 2.นายอดิสรณ์ สมนึกแท่น ผู้ช่วยวิจัย นายคณาศักดิ์พงษ์พาลี สาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

Community Based participatory Research : CBPR วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรปลูกถั่วดาวอินคา บ้านบ่อม่วง อำเภอเนินขาม

ผศ.ประชิด ทิณบุตร ลงพื้นที่วิจัยที่ชัยนาท วิจัยวิทยาแบบให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม (Community Based participatory Research : CBPR) โดยให้ผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสียได้ร่วมให้ข้อมูล และร่วมตัดสินใจคัดเลือกผลงานโดยวิธีการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Groups) ในการตัดสินใจในผลงานการออกแบบพัฒนา ผลงานออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ใหม่ ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรปลูกถั่วดาวอินคา บ้านบ่อม่วง อำเภอเนินขาม สร้างแบรนด์ใหม่ชื่อ ชะชาเฮิร์บ โดยการ บรรยาย นำเสนอแนะแนวทางการพัฒนาต่อยอดการสร้างสรรค์คุณภาพผลิตภัณฑ์ การร่วมวิพากษ์ การสาธิต การร่วมแสดงความคิดเห็นแบบสนทนากลุ่มย่อย และส่งมอบชุดทดลองตลาดให้ไปดำเนินการต่อยอดทางธุรกิจที่เข้มแข็งและพึงพาตนเองได้ต่อไป 4-8-2558


คณะผู้วิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร หัวหน้าโครงการวิจัย ผู้ร่วมวิจัย 1.นายธีระชัย สุขสวัสดิ์ 2.นายอดิสรณ์ สมนึกแท่น ผู้ช่วยวิจัย นายคณาศักดิ์พงษ์พาลี นักศึกษาช่วยงานวิจัย นายดนุนัย พลศรี นางสาวบุญญานุช วิชาชัย สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม.พ.ศ.2558.

Friday, August 14, 2015

Siwattra Carbon ผศ.ประชิด ทิณบุตร ลงพื้นที่วิจัยที่ชัยนาท วิจัยวิทยาแบบให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม (Community Based participatory Research : CBPR)

siwattra carbon ผศ.ประชิด ทิณบุตร ลงพื้นที่วิจัยที่ชัยนาท วิจัยวิทยาแบบให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม (Community Based participatory Research : CBPR) โดยให้ผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสียได้ร่วมให้ข้อมูล และร่วมตัดสินใจคัดเลือกผลงานโดยวิธีการประชุมสนทนากลุ่ม(Focus Groups) ในการตัดสินใจในผลงานการออกแบบพัฒนา ผลงานออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ใหม่ ของผู้ประกอบการศิวัตราคาร์บอน บ้านท่าศิลา อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท สร้างแบรนด์ใหม่ชื่อ ศิวตรา โดยการ บรรยาย นำเสนอแนะแนวทางการพัฒนาต่อยอดการสร้างสรรค์คุณภาพผลิตภัณฑ์ การร่วมวิพากษ์ การสาธิต การร่วมแสดงความคิดเห็นแบบสนทนากลุ่มย่อย และส่งมอบชุดทดลองตลาดให้ไปดำเนินการต่อยอดทางธุรกิจที่เข้มแข็งและพึงพาตนเองได้ต่อไป 30-7-2558



Monday, August 10, 2015

ผศ.ประชิด ทิณบุตร ลงพื้นที่วิจัยที่ชัยนาท วิจัยวิทยาแบบให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม (Community Based participatory Research : CBPR)

ผศ.ประชิด ทิณบุตร ลงพื้นที่วิจัยที่ชัยนาท วิจัยวิทยาแบบให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม (Community Based participatory Research : CBPR) โดยให้ผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสียได้ร่วมให้ข้อมูล และร่วมตัดสินใจคัดเลือกผลงานโดยวิธีการประชุมสนทนากลุ่ม(Focus Groups) ในการตัดสินใจในผลงานการออกแบบพัฒนา ผลงานออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ใหม่ ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสมุนไพรบ้านโรงวัว อำเภอเมืองชัยนาท สร้างแบรนด์ใหม่ชื่อ ชัยนารถเฮิร์บ ใช้ชื่อพ้องเสียงของจังหวัดเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สื่อสารถึงจังหวัดชัยนาท โดยการ บรรยาย นำเสนอแนะแนวทางการพัฒนาต่อยอดการสร้างสรรค์คุณภาพผลิตภัณฑ์ การร่วมวิพากษ์ การสาธิต การร่วมแสดงความคิดเห็นแบบสนทนากลุ่มย่อย และส่งมอบชุดทดลองตลาดให้ไปดำเนินการต่อยอดทางธุรกิจที่เข้มแข็งและพึงพาตนเองได้ต่อไป 31-7-2558

Monday, March 16, 2015

ศึกษาข้อมูลวิจัยเพื่อพัฒนาตราสินค้าและรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ธูปหอมสปา โรงงานธูปอินทรมงคล

ผศ.ประชิด ทิณบุตร เข้าศึกษาข้อมูลวิจัยเพื่อพัฒนาตราสินค้าและรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ ดูการผลิตธูปหอมสปา ณ ที่ โรงงานธูปอินทรมงคล  12 หมู่ 8 บ้านมะพลับดก ต.หาดท่าเสา อ.เมือง จ.ชัยนาท 17000 โดยมีคุณวรนาท อินทรมงคล นำชมกิจการพร้อมสาธิตการผลิตูปสักการะและธูปหอมสปา เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2558

Thursday, January 29, 2015

ผศ.ประชิด ทิณบุตร เข้าศึกษาข้อมูลเชิงลึกเพื่อการวิจัย ที่ไร่ชาใบถั่วดาวอินคา ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านบ่อม่วง อ.เนินขาม

ผศ.ประชิด ทิณบุตร เข้าศึกษาข้อมูลเชิงลึกเพื่อการวิจัยเรื่องการออกแบบพัฒนาแบบตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ ของผลิตภัณฑ์ประเภทเพื่อสุขภาพและความงามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในเขตจังหวัดชัยนาท ณ สถานประกอบการไร่ใบชาถั่วดาวอินคากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านบ่อม่วง อ.เนินขาม จ.ชัยนาท เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2558 นำทางเข้าพื้นที่และมีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัยโดยคุณ กฤชวัชร แก้วพรม นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเนินขาม ซึ่งกลุ่มแม่บ้านมีการปลูกไร่ถั่วดาวอินคา แบบเกษตรอินทรีย์ และได้นำใบถั่วดาวอินคามาหั่นชิ้นตากแห้งเป็นชาสำหรับต้ม-ดื่ม เพื่อสุขภาพ มีสรรพคุณมากมายอาทิเช่น  ลดน้ำตาล คอเลสเตอรอล ไขมันในเส้นเลือด ลดความดัน ช่วยการไหลเวียนโลหิต ช่วยระบบขับถ่าย มีสารโอเมก้า 3,6,9 บำรุงสมองป้องกันโรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น โดยผลิต บรรจุ จำหน่าย ทั้งปลีกและส่งเอง ในราคาไม่แพง สามารถโทร.สั่งซื้อได้ที่ ป้าแสน  0948743928

ผศ.ประชิด ทิณบุตร เข้าสำรวจ-สัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อการวิจัย ที่ ศิวัตราคาร์บอน ผู้ผลิตถ่านดูดกลิ่นจากถ่านกะลาอัดแท่ง

ผศ.ประชิด ทิณบุตร เข้าสำรวจ-สัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อการวิจัยเรื่องการออกแบบพัฒนาแบบตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ ของผลิตภัณฑ์ประเภทเพื่อสุขภาพและความงามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในเขตจังหวัดชัยนาท ของผู้ประกอบการ ศิวัตราคาร์บอน ผู้ผลิตถ่านดูดกลิ่นจากถ่านกะลาอัดแท่ง ใช้สำหรับดูดกลิ่นในตู้เย็น รถยนต์ ห้องแอร์ ห้อง ตู้ หรือพื้นที่แคบที่อับชื้น โดยเข้าเยี่ยมชมวิธีการผลิต สัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก ณ สถานประกอบการ เลขที่ 54 ม.2 ต.อู่ตะเภา อ.มโนรมย์ จังหวัดชัยนาท โทร. 0856056854 เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2558