ทีมงานวิจัยสาขาวิชาศิลปกรรม และศิษย์เก่า-ศิษย์ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ร่วมกันเป็นวิทยากรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง แนวทางการออกแบบตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์สินค้าสำหรับสินค้าวิสาหกิจชุมชนแปรรูปข้าว จังหวัดชัยนาท เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2557 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท (สวนนกชัยนาท) นำทีมโดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร อาจารย์ธีระชัย สุขสวัสดิ์ อาจารย์อดิสรณ์ สมนึกแท่น ศิษย์เก่าปี 2537 นายคณาศักดิ์ พงษ์พาลี ศิษย์ปัจจุบันคือนักศึกษาวิชาเอกออกแบบนิเทศศิลป์ ชั้นปีที่ 3 18 คน ที่เรียนวิชาออกแบบอัตลักษณ์และวิชาออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ประจำภาคเรียนที่ 1/2557 ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างน่าพอใจ ชื่นมื่นทั้งเหล่าวิทยากรและกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าว ที่เข้าร่วมสัมมนา จำนวนร่วม 70 คน อาจารย์เองก็ได้เข้ามีส่วนร่วมในการพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์สินค้าให้แก่ผู้ประกอบชุมชน อันเป็นการบูรณาการบริการวิชาการและงานวิจัยแก่ชุมชน ได้บูรณาการสาระเนื้อหาวิชาและงานวิจัย ซึ่งนักศึกษาก็ได้ประสบการณ์จริงและเพื่อเป็นโจทย์จริงในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพนักออกแบบตามหลักปรัชญาของการผลิตบัณฑิตออกสู่สังคมและทำให้สังคมเกิดอุดมปัญญาได้จริง และคงจะมีโครงการอื่นๆอีกตามมาอย่างแน่นอน
การจัดการความรู้คู่การวิจัยเรื่อง การออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท ปีงบประมาณแผ่นดิน 2558 โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร อ.ธีระชัย สุขสวัสดิ์ อ.อดิสรณ์ สมนึกแท่น Branding and packaging design development for herbal spa and wellness products of community enterprise group of Chainat province to connect to cultural tourism.by Assistant Professor Prachid Tinnabutr and Staff
Saturday, September 20, 2014
Wednesday, September 17, 2014
ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย
ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย
จังหวัดชัยนาท เป็นจังหวัดหนึ่งที่จัดอยู่ในเขตยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 (ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง) ซึ่งทางสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้จัดทำไว้ โดยให้มีวิสัยทัศน์ (Vision) ร่วมกันว่า เป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย ศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางน้ำ และแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และธรรมชาติ ตั้งเป้าประสงค์ (Goals) ไว้คือ การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP: Gross Provincial Products) ภาคเกษตรกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี มีรายได้จากการท่องเที่ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี และมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ของภาคการค้า การบริการ และการขนส่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี โดยได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (Development Strategies) ภายใต้ศักยภาพด้านการเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตร และฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ มีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม และธรรมชาติที่มีความโดดเด่น ประกอบกับมีที่ตั้งที่อยู่ใกล้เมืองหลวง และมีแม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำท่าจีน ประกอบกับการคมนาคมขนส่งสะดวก โดยเฉพาะระบบคมนาคมขนส่งทางน้ำ หอการค้าไทยจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดฯ ไว้เป็น 3 ประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้คือ (สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย,2556)
1. สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรและปศุสัตว์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน2 (ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง) โดยมีกลยุทธ์ดังนี้
1.1 ปรับโครงสร้างและพัฒนากระบวนการผลิตอาหารปลอดภัยให้ได้มาตรฐานสากลเพื่อ
การส่งออก (ข้าว และปศุสัตว์)
1.2 สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์แปรรูปเกษตร
1.3 พัฒนาเชื่อมโยงทางการตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
2. สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคธุรกิจท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และธรรมชาติ เพื่อทำให้
เกิดการจ้างงาน และกระจายรายได้ โดยมีกลยุทธ์ดังนี้
2.1 สร้างสรรค์กิจกรรมท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเสริมศักยภาพ
การท่องเที่ยวระยะยาว
2.2 เชื่อมโยงการท่องเที่ยวระหว่างกลุ่มจังหวัด และภูมิภาคอื่นๆ
2.3 เร่งทำการประชาสัมพันธ์ตลาดท่องเที่ยวในเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง
2.4 พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อเพิ่มความสามารถในการให้บริการ
3. พัฒนาและปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ เพื่อใช้เป็นฐานในการขับเคลื่อนภาค
เศรษฐกิจและสังคม ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต โดยมีกลยุทธ์ดังนี้
3.1 พัฒนาโครงข่ายคมนาคมและขนส่งพื้นฐาน
3.2 พัฒนาระบบโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางน้ำ
จังหวัดชัยนาท เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน 3 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำน้อย จึงเหมาะสมสำหรับการประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร ดังนั้น ประชากรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 จึงประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรมรองลงมา ได้แก่ ด้านการพาณิชย์ ประมาณร้อยละ 6 ด้านการอุตสาหกรรมและการหัตถกรรมประมาณร้อยละ 3 ในส่วนของการผลิตด้านการเกษตรนับว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของจังหวัด และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ของจังหวัดชัยนาท ประกอบอาชีพด้านการเกษตรและยังทำรายได้เป็นอันดับหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสาขาการผลิตอื่น ๆ พืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ ในระหว่างปีผลผลิตได้รับความเสียหายจากภาวะฝนแล้ง การระบาดของศัตรูพืชและน้ำท่วม ซึ่งจะพบว่าถ้าปีใดที่ผลผลิตทางการเกษตรดีเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดก็จะดีขึ้นด้วย ในทางกลับกันหากปีใดผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ราคาผลผลิตตกต่ำก็จะส่งผลให้สภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดชัยนาทซบเซาตามไปด้วย จังหวัดชัยนาทจึงได้มีการเริ่มดำเนินการตามโครงการสร้างเสริมขีดความสามารถของผู้ประกอบการในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีวิสัยทัศน์ตามแผนพัฒนาจังหวัดประจำปี 2556 เอาไว้ว่า “เมืองเกษตรมาตรฐาน สืบสานคุณภาพชีวิต” ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญแก่ด้านการเกษตร ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระดับชาติ ด้วยการกำหนดประเด็น ประเด็นยุทธศาสตร์ข้อที่ 1 เอาไว้คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดด้านการเกษตร โดยมีเป้าประสงค์หลักเอาไว้ 3 ช้อคือ 1) ผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพปลอดภัยได้มาตรฐาน 2) เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร และ3) เพิ่มรายได้เกษตรกร (สำนักงานจังหวัดชัยนาท,มปป.) มีการจัดอบรมความรู้ตามประเด็นยุทธศาสตร์แก่ผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศและของจังหวัด แต่จากสภาวการณ์ที่ผ่านมาพบปัญหาว่า ผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าวภายในจังหวัด ยังขาดความรู้ในเชิงการตลาด การคาดการณ์ การออกแบบ การส่งออกสินค้าและการสื่อสารกับผู้ค้าในระดับสากล (บ้านเมือง,2556) และในแผนพัฒนาจังหวัดในช่วงปีพ.ศ.2556-2559 ก็ได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ใหม่ขึ้นมาคือ เป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการที่จะพัฒนาจังหวัดชัยนาทให้เป็นแหล่งผลิตทางการเกษตรปลอดสารพิษ ที่สำคัญระดับประเทศและการส่งออก เกื้อหนุนอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้น และจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้เป็นเมืองน่าอยู่ ได้จริงตามวิสัยทัศน์การพัฒนา จึงยังคงต้องการและเน้นการมีส่วนร่วมจากประชาชนและจากภาคีทุกภาคส่วน โดยมีการส่งเสริมจากหน่วยงานที่ร่วมกันเป็นภาคีการทำงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยกำหนดเป็นเป้าหมายในการพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัด ในการพัฒนาและส่งเสริมในด้านการผลิต การพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน การตลาด และการท่องเที่ยว ประกอบด้วย ส้มโอขาวแตงกวา ผลิตภัณฑ์หุ่นฟางนกเล็ก ผ้าทอพื้นเมือง แชมพูสมุนไพร ผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่และผักตบชวา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีคุณภาพได้มาตรฐานก็ยังมีจำนวนน้อย โดยมีผลิตภัณฑ์ชุมชนได้มาตรฐาน 5 ดาว เพียง 8 ผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ผลิตขึ้นมานั้น ยังไม่ตรงตามความต้องการของตลาด นอกจากนี้จังหวัดชัยนาท ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวหลายแห่ง อาทิ วัดปากคลองมะขามเฒ่า วัดธรรมามูล สวนนก เขื่อนเจ้าพระยา เป็นต้น แต่เมื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดอื่นๆ แล้วการท่องเที่ยวของจังหวัดชัยนาทยังมีอยู่จำนวนน้อย และไม่หลากหลายเท่าที่ควร ทำให้ขาดแรงจูงใจนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ปัญหาอุทกภัยก็ยังส่งผลให้การท่องเที่ยวของจังหวัดซบเซาลง ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยวของจังหวัดลดลงอย่างต่อเนื่อง (จำลอง โพธิ์สุข,2556)
1. สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรและปศุสัตว์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน2 (ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง) โดยมีกลยุทธ์ดังนี้
1.1 ปรับโครงสร้างและพัฒนากระบวนการผลิตอาหารปลอดภัยให้ได้มาตรฐานสากลเพื่อ
การส่งออก (ข้าว และปศุสัตว์)
1.2 สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์แปรรูปเกษตร
1.3 พัฒนาเชื่อมโยงทางการตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
2. สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคธุรกิจท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และธรรมชาติ เพื่อทำให้
เกิดการจ้างงาน และกระจายรายได้ โดยมีกลยุทธ์ดังนี้
2.1 สร้างสรรค์กิจกรรมท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเสริมศักยภาพ
การท่องเที่ยวระยะยาว
2.2 เชื่อมโยงการท่องเที่ยวระหว่างกลุ่มจังหวัด และภูมิภาคอื่นๆ
2.3 เร่งทำการประชาสัมพันธ์ตลาดท่องเที่ยวในเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง
2.4 พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อเพิ่มความสามารถในการให้บริการ
3. พัฒนาและปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ เพื่อใช้เป็นฐานในการขับเคลื่อนภาค
เศรษฐกิจและสังคม ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต โดยมีกลยุทธ์ดังนี้
3.1 พัฒนาโครงข่ายคมนาคมและขนส่งพื้นฐาน
3.2 พัฒนาระบบโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางน้ำ
จังหวัดชัยนาท เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน 3 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำน้อย จึงเหมาะสมสำหรับการประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร ดังนั้น ประชากรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 จึงประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรมรองลงมา ได้แก่ ด้านการพาณิชย์ ประมาณร้อยละ 6 ด้านการอุตสาหกรรมและการหัตถกรรมประมาณร้อยละ 3 ในส่วนของการผลิตด้านการเกษตรนับว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของจังหวัด และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ของจังหวัดชัยนาท ประกอบอาชีพด้านการเกษตรและยังทำรายได้เป็นอันดับหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสาขาการผลิตอื่น ๆ พืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ ในระหว่างปีผลผลิตได้รับความเสียหายจากภาวะฝนแล้ง การระบาดของศัตรูพืชและน้ำท่วม ซึ่งจะพบว่าถ้าปีใดที่ผลผลิตทางการเกษตรดีเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดก็จะดีขึ้นด้วย ในทางกลับกันหากปีใดผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ราคาผลผลิตตกต่ำก็จะส่งผลให้สภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดชัยนาทซบเซาตามไปด้วย จังหวัดชัยนาทจึงได้มีการเริ่มดำเนินการตามโครงการสร้างเสริมขีดความสามารถของผู้ประกอบการในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีวิสัยทัศน์ตามแผนพัฒนาจังหวัดประจำปี 2556 เอาไว้ว่า “เมืองเกษตรมาตรฐาน สืบสานคุณภาพชีวิต” ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญแก่ด้านการเกษตร ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระดับชาติ ด้วยการกำหนดประเด็น ประเด็นยุทธศาสตร์ข้อที่ 1 เอาไว้คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดด้านการเกษตร โดยมีเป้าประสงค์หลักเอาไว้ 3 ช้อคือ 1) ผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพปลอดภัยได้มาตรฐาน 2) เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร และ3) เพิ่มรายได้เกษตรกร (สำนักงานจังหวัดชัยนาท,มปป.) มีการจัดอบรมความรู้ตามประเด็นยุทธศาสตร์แก่ผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศและของจังหวัด แต่จากสภาวการณ์ที่ผ่านมาพบปัญหาว่า ผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าวภายในจังหวัด ยังขาดความรู้ในเชิงการตลาด การคาดการณ์ การออกแบบ การส่งออกสินค้าและการสื่อสารกับผู้ค้าในระดับสากล (บ้านเมือง,2556) และในแผนพัฒนาจังหวัดในช่วงปีพ.ศ.2556-2559 ก็ได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ใหม่ขึ้นมาคือ เป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการที่จะพัฒนาจังหวัดชัยนาทให้เป็นแหล่งผลิตทางการเกษตรปลอดสารพิษ ที่สำคัญระดับประเทศและการส่งออก เกื้อหนุนอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้น และจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้เป็นเมืองน่าอยู่ ได้จริงตามวิสัยทัศน์การพัฒนา จึงยังคงต้องการและเน้นการมีส่วนร่วมจากประชาชนและจากภาคีทุกภาคส่วน โดยมีการส่งเสริมจากหน่วยงานที่ร่วมกันเป็นภาคีการทำงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยกำหนดเป็นเป้าหมายในการพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัด ในการพัฒนาและส่งเสริมในด้านการผลิต การพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน การตลาด และการท่องเที่ยว ประกอบด้วย ส้มโอขาวแตงกวา ผลิตภัณฑ์หุ่นฟางนกเล็ก ผ้าทอพื้นเมือง แชมพูสมุนไพร ผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่และผักตบชวา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีคุณภาพได้มาตรฐานก็ยังมีจำนวนน้อย โดยมีผลิตภัณฑ์ชุมชนได้มาตรฐาน 5 ดาว เพียง 8 ผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ผลิตขึ้นมานั้น ยังไม่ตรงตามความต้องการของตลาด นอกจากนี้จังหวัดชัยนาท ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวหลายแห่ง อาทิ วัดปากคลองมะขามเฒ่า วัดธรรมามูล สวนนก เขื่อนเจ้าพระยา เป็นต้น แต่เมื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดอื่นๆ แล้วการท่องเที่ยวของจังหวัดชัยนาทยังมีอยู่จำนวนน้อย และไม่หลากหลายเท่าที่ควร ทำให้ขาดแรงจูงใจนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ปัญหาอุทกภัยก็ยังส่งผลให้การท่องเที่ยวของจังหวัดซบเซาลง ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยวของจังหวัดลดลงอย่างต่อเนื่อง (จำลอง โพธิ์สุข,2556)
Chai Nat Brand Research blog
เว็ปบลอกเผยแพร่ความรู้การวิจัย ปีงบประมาณแผ่นดิน พศ.2558
ชื่อภาษาไทย การออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท
ชื่อภาษาไทย การออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท
ชื่อภาษาอังกฤษ Branding
and packaging design development for herbal spa and wellness products of community
enterprise group of Chainat province to connect to cultural tourism.
Subscribe to:
Posts (Atom)