Pages

แบบสอบถามวิจัยออนไลน์

เชิญทุกท่านมีส่วนร่วมตอบแบบสอบถามออนไลน์ 
เปิดรับข้อมูลระหว่างวันที่ 10-24 สิงหาคม 2558  
ด้านล่างสุด  มีจำนวน 8 ฉบับ


แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการวิจัยเรื่อง
การออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท

หลังจากที่ท่านที่ได้อ่านคำชี้แจง ได้ศึกษากระบวนการวิจัยและกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยนี้แล้ว และประสงค์ที่จะมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นด้วย คณะผู้วิจัยขอเรียนเชิญตอบแบบสอบถามออนไลน์ด้านล่างนี้
แบบสอบถามออนไลน์ มีทั้งหมดจำนวน 8 ชุด ด้านล่างนี้ (ตอบทุกข้อตามฐานะหน้าที่การงานของท่าน)

ตอบแบบสอบถามฉบับที่ 1.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกองทุนเพื่อการเกษตรชุมชนบ้านแหลมทอง อำเภอหันคา
ผลิตภัณฑ์ถ่านดูดกลิ่น แบรนด์ เอาถ่าน
ตอบแบบสอบถามฉบับที่ 2.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนสารพัดดีเพื่อสุขภาพ  บ้านหัวทองพัฒนา อำเภอหันคา
ชื่อผลิตภัณฑ์ : สบุ๋และชาสมุนไพรดาวอินคา แบรนด์ สารพัดดี
ตอบแบบสอบถามฉบับที่ 3.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มธูปหอมอินทร์มงคล บ้านมะพลับดก อำเภอเมือง
ผลิตภัณฑ์ : ธูปสปา
ตอบแบบสอบถามฉบับที่ 4.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรเพื่อสุขภาพ หมู่ 4 บ้านโรงวัว อำเภอเมือง
ผลิตภัณฑ์ : สบู่และสมุนไพร แบรนด์ ชัยนารถเฮิร์บ
ตอบแบบสอบถามฉบับที่ 5.วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำสมุนไพรและศิลปะประดิษฐ์  บ้านคลองมอญ อำเภอวัดสิงห์
ผลิตภัณฑ์ : สบู่และสมุนไพร แบรนด์ คลองมอญ
ตอบแบบสอบถามฉบับที่ 6วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรปลูกถั่วดาวอินคา บ้านบ่อม่วง อำเภอเนินขาม
ผลิตภัณฑ์ : ชาและสบู่ถั่วดาวอินคา แบรนด์ ชะชา
ตอบแบบสอบถามฉบับที่ 7. ศิวตราคาร์บอน  บ้านเสาศิลา อำเภอมโนรมย์
ผลิตภัณฑ์ : ถ่านอัดแท่งและถุงถ่านดูดกลิ่น แบรนด์ ศิวัตรา
ตอบแบบสอบถามฉบับที่ 8.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรบ้านสระไม้แดง อำเภอสรรคบุรี
ผลิตภัณฑ์ : สบู่สมุนไพร แบรนด์ แม่อี๊ด

ขอขอบคุณในความร่วมมือจากทุกท่าน เป็นอย่างสูง
ผศ.ประชิด ทิณบุตร หัวหน้าโครงการวิจัย
นายธีระชัย สุขสวัสดิ์ ผู้ร่วมวิจัย
นายอดิสรณ์ สมนึกแท่น ผู้ร่วมวิจัย
นายคณาศักดิ์ พงษ์พาลี ผู้ช่วยวิจัย (ศิษย์เก่า)
นายดนุนัย พลศรี นักศึกษาช่วยงานวิจัย ชั้นปีที่ 4
นางสาวบุญญานุช วิชาชัย นักศึกษาช่วยงานวิจัย ชั้นปีที่ 4
สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม.
--------------------------------------------------------------------------------------------




รายละเอียดประกอบการพิจารณาตอบแบบสอบถาม
คำชี้แจงสำหรับผู้ตอบแบบสอบถาม
เรียน ท่านผู้ตอบแบบสอบถามทุกท่าน.

แบบสอบถามฉบับนี้ใช้สำหรับเป็นเครื่องมือศึกษาและพิจารณาการคัดเลือกแบบ (ที่จัดแสดง/นำเสนอ) แบบมีส่วนร่วม ในการศึกษาวิจัยเรื่องการออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท ของกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนใน จำนวน 8 ราย ซึ่งแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังต่อไปนี้คือ

ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว
ตอนที่ 2  เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดชัยนาท

โปรดกรุณาเลือกตอบแบบสอบถามตามความคิดเห็น ทัศนคติ ความรู้สึก ความเป็นจริงและประสบการณ์ร่วมของท่าน ที่มีต่อต้นแบบที่ได้นำเสนอ (Presentation & Exhibition)ไว้ในแต่ละรายการ ซึ่งข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการสรุปผลการออกแบบพัฒนา เป็นการร่วมให้ข้อปรึกษาแก่ผู้ประกอบการและผู้ร่วมงาน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สินค้า ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตจังหวัดชัยนาทและเป็นข้อมูลแนวทางต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนอื่นๆอีกต่อไป

ขอขอบพระคุณ ในความร่วมมือของท่านไว้ ณ ที่นี้ เป็นอย่างสูง

ผศ.ประชิด ทิณบุตร หัวหน้าโครงการวิจัย
นายธีระชัย สุขสวัสดิ์ ผู้ร่วมวิจัย
นายอดิสรณ์ สมนึกแท่น ผู้ร่วมวิจัย
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลสาระสำคัญของการวิจัย

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อออกแบบพัฒนา ปรับปรุงมาตรฐานและคุณภาพด้านตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์สินค้าด้านสุขภาพและความงาม ของผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในจังหวัดชัยนาท ให้สามารถดำเนินการผลิต บรรจุและจัดจำหน่ายในท้องตลาดได้จริง

2. เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างประชากร ที่มีต่อประสิทธิภาพผลงานการออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์ และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์สินค้าด้านสุขภาพและความงาม ของผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในจังหวัดชัยนาท ที่ได้พัฒนาขึ้นภายใต้กรอบแนวคิดการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

นิยามศัพท์เฉพาะ

การออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์ (Branding Design and Development) หมายถึง การปรับปรุงพัฒนารูปลักษณ์และคุณลักษณะทางโครงสร้างทางกราฟิกสื่อสารกิจการของผู้ผลิตหรือผลิตภัณฑ์ ให้มีหน้าที่ทางการรับรู้และทางการตลาดที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย

การออกแบบพัฒนารูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ (Packaging Form Design and Development) หมายถึง การปรับปรุงพัฒนารูปลักษณ์และคุณลักษณะทางโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ที่ปรากฏร่วมกับผลิตภัณฑ์ ให้มีหน้าที่ทางผลิต การบรรจุ การตลาดและการจัดจำหน่ายที่ดีขึ้นอย่างเหมาะสม

ผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม (Herbal Spa and Wellness Products) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่มนุษย์เราใช้เพื่อการอุปโภค บริโภค หรือช่วยส่งเสริมให้มีสุขภาวะที่สมบูรณ์ขึ้นทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ และทางสังคม

วิสาหกิจชุมชน (Community Enterprise) หมายถึง การดำเนินการกิจการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลในรูปแบบใด หรือไม่เป็นนิติบุคคล เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชนและระหว่างชุมชน

จังหวัดชัยนาท (Chainat Province) หมายถึงจังหวัดหนึ่งของไทยที่ตั้งอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชัยนาท อำเภอเมืองมโนรมย์ อำเภอวัดสิงห์ อำเภอสรรพยา อำเภอสรรคบุรี อำเภอหันคา และอำเภอหนองมะโมง

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (Cultural Tourism) หมายถึงการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปะวัฒนธรรมหรืองานประเพณีต่างๆที่ปรากฏมีอยู่ เป็นมรดกที่สืบทอด หรือภูมิปัญญาที่ชุมชนในท้องถิ่นร่วมจัดขึ้น เพื่อให้ได้รับความสนุกสนาน เพลิดเพลิน พร้อมทั้งได้ศึกษาความเชื่อ ความความศรัทธา ความเข้าใจต่อสภาพสังคมและวัฒนธรรม

สมมติฐานของการวิจัย

1. ผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนาแบบตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นจริง ภายใต้แนวคิดของการเชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม มีคุณลักษณะและองค์ประกอบและรายละเอียดต่างๆ ตามบทบาทหน้าที่การใช้งาน ตามโครงสร้างและตามคุณลักษณะทางกราฟิกสื่อสาร อันเป็นข้อสรุปสู่การผลิตจริง สามารถนำไปใช้ในระบบการผลิต การบรรจุและการจัดจำหน่ายจริงในท้องตลาดได้ อีกทั้งยังสามารถสื่อแสดงการเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดชัยนาทได้อย่างเหมาะสม

2. กลุ่มตัวอย่างประชากรมีความพึงพอใจต่อแบบตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบพัฒนาและผลิตขึ้นใหม่ ภายใต้แนวคิดของการเชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม อยู่ในระดับมากขึ้นไป

กรอบแนวคิดในการวิจัย

ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย (Research Conceptual Framework) โดยปรับใช้แนวคิดต่อยอดจากผลงานวิจัยเรื่องการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าด้านการเกษตรของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท เพื่อประสิทธิภาพในการแข่งขันภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ของ ประชิด ทิณบุตร และคณะ (2557 : 9 ) สรุปดังนี้คือ

คลิกเข้าทำ

No comments:

Post a Comment